วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2563

แบบฝึกหัดบทที่3

 แบบฝึกหัดบทที่3

 1. จำนวนพันธะโคเวเลนต์ในโมเลกุล CH4 , SiCl4 , NaCl , NH3 เป็นกี่พันธะมีค่าเรียงตามลำดับ  คือข้อใด

   ก. 4 , 4 , 0 , 3     ข. 6 , 3 , 1 , 0       ค. 4 , 3 , 0 , 3      ง. 5 , 4 , 1 , 0

2.
 พันธะเดี่ยว หมายถึงอะไร
    
ก. พันธะที่เกิดจากการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน 1 คู่
    
ข. พันธะที่เกิดจากการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน 2 คู่
    
ค. พันธะที่เกิดจากการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน 3 คู่
    
ง. พันธะที่เกิดจากการใช้์อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวร่วมกัน 1 คู่

3.
 ธาตุในข้อใด เกิดพันธะโคเวเลนต์กับธาตุคลอรีนได้ดีที่สุด

    
ก. Na                ข. Ra             ค. C                 ง. Cs

4.
 สมบัติทางกายภาพในข้อใด ที่ใช้อธิบายสมบัติทางเคมีของอโลหะ
    
ก. พลังงานไอออไนเซชันสูง ขนาดอะตอมใหญ่ สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนน้อย
    
ข. พลังงานไอออไนเซชันต่ำ ขนาดอะตอมใหญ่ อิเล็กโทรเนกาติวิตีต่ำ
    
ค. พลังงานไอออไนเซชันสูง ขนาดอะตอมเล็ก สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนน้อย
    
ง. พลังงานไอออไนเซชันสูง ขนาดอะตอมเล็ก อิเล็กโทรเนกาติวิตีสูง

5. 
ธาตุ Z มีพลังงานไอออไนเซชันตั้งแต่ลำดับที่หนึ่งถึงลำดับที่ 8 เป็นดังนี้ 1.320, 3.395, 5.307, 7.476, 10.996, 13.333, 71.343, 84.086 ธาตุ Z มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่าใด

    
ก. 1                ข. 4                ค. 6                ง. 7

6. 
ตารางแสดงค่าพลังงานพันธะเฉลี่ยในสารไฮโดรคาร์บอน
    
ชนิดพันธะ
พลังงานพันธะ
C - H
413
C - C
348
การสลายพันธะโพรเพน (C3H8)  0.5 โมล จะต้องใช้พลังงานมากกว่าหรือน้อยกว่าการสลายพันธะอีเทน (C2H6)  0.5 โมล  เท่าไร
     
ก. มากกว่า 587 kJ     ข. น้อยกว่า 283 kJ      ค. มากกว่า 526 kJ     ง. น้อยกว่า 278 kJ

7. 
เหตุใดสารโคเวเลนต์ จึงมีจุดเดือด จุดหลอมเหลวต่ำ
    
ก. สารโคเวเลนต์มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อย       ข. สารโคเวเลนต์มักสลายตัวได้ง่าย
    
ค. สารโคเวเลนต์ไม่มีประจุไฟฟ้า                                   ง. สารโคเวเลนต์มักมีโมเลกุลขนาดเล็ก

8. 
สารละลายที่เกิดจากธาตุหมู่ 1 กับน้ำ มีสมบัติอย่างไร
    
ก. เป็นกลาง     ข. เป็นได้ทั้งกรดและเบส      ค. เป็นกรด       ง. เป็นเบส

9. 
สาร X เป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว สาร Y เป็นโมเลกุลมีขั้ว ส่วนสาร Z เป็นพันธะไม่มีขั้ว ถ้าขนาดของโมเลกุลของ X>Y>Z แล้วสาร X Y และ Z ควรเป็นดังข้อใด

    
ก. CH2 , NH3 , C6H6      ข. BeCl2 , CH2Cl2 , S8      ค. Br2 , H2O , H2      ง. SiH4 , PCl3 , PCl5

10. 
กำหนดค่า EN ของธาตุดังนี้ A = 3.0 , B = 2.8 X= 2.7 , Y = 3.7 จงเรียงลำดับความแรงขั้วจากมากไปน้อย

      
ก. A-B , B-X , X-Y     ข. A-Y , B-X , A-X     ค. Y-B , A-Y , A-X     ง. A-X , B-Y , A-Y

11. 
ถ้า A , B และ C เป็นสารโคเวเลนต์ 3 ชนิด โดยทั้ง 3 ชนิดมีสถานะเป็นของเหลว โมเลกุลของสาร Aและ B มีขั้ว ส่วนโมเลกุลของสาร C ไม่มีขั้ว สารใดสามารถละลายน้ำได้

     
ก. สาร C       ข. สาร A และ C      ค. สาร A เเละ B       ง. สาร B และ C

12. 
จงระบุว่าสารในข้อใดละลายน้ำได้
      1) 
แคลเซียมคลอไรด์                 2) แอมโมเนียมซัลเฟต      3 )เมอร์คิวรี(I)คลอไรด์
      4) 
ไอร์ออน(III)ไฮดรอกไซด์       5) โพแทสเซียมฟอสเฟต

    
ก. 1 2 3       ข. 1 2 5      ค. 2 3 4       ง. 2 3 5

13. 
ถ้า A, B ,C ,D เป็นธาตุที่มีเลขอะตอม 7,11,17 และ 20 ตามลำดับ สูตรของไอออนและสารประกอบไอออนิกในข้อใดถูกต้อง  

ข้อ
ไอออนบวก
ไอออนลบ
สูตรสารประกอบไอออนิก
D2+
A3-
D3A2
C3+
B2-
C2B3
B+
A-
BA
A+
C-
AC
14. X เป็นสารประกอบของธาตุ Ca และ F มีจุดหลอมเหลวสูง ไม่นำไฟฟ้าที่อุณหภูมิห้อง และละลายน้ำได้น้อยมาก ข้อสรุปใดต่อไปนี้ ไม่ สอดคล้องกับข้อมูลข้างต้น
      
ก. พันธะในสาร X เป็นพันธะไอออนิก           
      
ข. เมื่อ X ละลายน้ำ จะดูดความร้อน ทำให้ละลายได้น้อย
      
ค. X มีสูตร CaF2 ผลึกมีความแข็งแรงมากจึงละลายได้ยาก  
      
ง. สาร X เมื่อหลอมเหลวจะนำไฟฟ้า

15. 
เมื่อละลาย KCl ในน้ำเกิดปฏิกิริยาเป็นขั้น ๆ และมีการเปลี่ยนแปลงพลังงาน ดังนี้
1) KCl(s) -----> K+(g) + Cl-(aq)                H1 = 701.2 kJ/mol

2) K+(g) + Cl-(g) -------> K+(aq) + Cl-(aq)      H2 = 684.1 kJ/mol

ปฏิกิริยานี้เป็นแบบใด
    
ก. คายพลังงานเท่ากับ 1385.3 kJ/mol           ข. คายพลังงานเท่ากับ 17.1 kJ/mol
    
ค. ดูดพลังงานเท่ากับ 17.1 kJ/mol               ง. ดูดพลังงานเท่ากับ 1385.3 kJ/mol

16. 
สาร X , Y , Z มีพลังงานพันธะเป็น 120 , 200 , 90 kJ/mol ตามลำดับ จงเรียงความยาวพันธะจากน้อยไปมาก

      
ก. X , Y , Z            ข. Z , Y , X                ค. Y , X , Z              ง. Z , X , Y

17. 
ข้อใดกล่าว ไม่ ถูกต้องเกี่ยวกับสมบัติของสารประกอบไอออนิก  
      
ก.    นำไฟฟ้าได้ทุกสถานะ      ข.   เกิดจากการรวมตัวของไอออนบวกกับไอออนลบ  
      
ค.   จัดเรียงตัวเป็นผลึก           ง.   มีผลรวมของประจุสุทธิ เป็น ศูนย์


18. 
พันธะเคมี หมายถึง อะไร   
      
ก. แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอม          ข. พลังงานที่ทำให้อะตอมสลายตัว    
      
ค. การอยู่รวมกันของอะตอม              ง. การอยู่รวมกันของโมเลกุล

19. 
กำหนดการจัดอิเล็กตรอนของธาตุให้ ดังนี้  A   2,8,2     B   2,8,8,1     C  2,8,7      D  2,8,18, 8   ธาตุคู่ใดมีการเกิดเป็นสารประกอบไอออนิกได้    
                                 
      
ก.   A  กับ  D          ข.   C  กับ  D         ค.   B  กับ  C           ง.   B  กับ  D

20. เพราะเหตุใด อโลหะจึงยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะโคเวเลนต์
      
ก. อโลหะมีค่า EN สูงเสียอิเล็กตรอนยาก          ข. อโลหะมีค่า EN สูงเสียอิเล็กตรอนง่าย
      
ค. อโลหะมีค่า EN ต่ำเสียอิเล็กตรอนยาก          ง. อโลหะมีค่า EN ต่ำเสียอิเล็กตรอนง่าย

เฉลยแบบทดสอบบทที่ 3

1. ก     2.      3. ค     4. ง     5. ค     6. ก     7. ก     8 . ง     9 . ค    10 . ค  11. ค  12. ข   13. ก   14. ข   15. ค   16. ค   17. ก   18. ก   19. ค     20. 

แบบฝึกหัดบทที่2

แบบฝึกหัดบทที่2

 1. อะตอมประกอบไปด้วยโปรตอนและอิเล็กตรอนในจำนวนที่เท่า ๆ กัน คือ แบบจำลองอะตอมของใคร

ก. ดอลตัน                    ข. ทอมสัน                        ค. รัทเทอร์ฟอร์ด                           ง. โบร์

2. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. ธาตุต่างชนิดกันมีมวลต่างกันหรือมีนิวตรอนต่างกันเรียกว่าไอโซโทป
ข. มวลของอะตอม คือ มวลของโปรตอนกับอิเล็กตรอนในนิวเคลียส
ค. มวลของอะตอม คือ มวลของโปรตอนกับนิวตรอนในนิวเคลียส
ง. เลขอะตอมจะบอกถึงจำนวนโปรตอนและจำนวนนิวตรอนในอะตอม


3. อนุภาคข้อใดที่มีมวลใกล้เคียงกัน
ก.โปรตอน อิเล็กตรอน และนิวตรอน
ข.โปรตอนกับอิเล็กตรอน
ค. นิวครอนกับอิเล็กตรอน
ง. โปรตอนกับนิวตรอน


4. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับแบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด
ก. โปรตอนและอิเล็กตรอนรวมกันเป็นนิวเคลียสของอะตอม
ข. นิวเคลียสมีขนาดเล็กมากและมีมวลมาก ภายในประกอบด้วยอนุภาคโปรตอน
ค. นิวเคลียสเป็นกลางทางไฟฟ้าเพราะประจุของโปรตอนกับของอิเล็กตรอนเท่ากัน
ง.อะตอมของธาตุประกอบด้วยอนุภาคโปรตอนและอิเล็กตรอนกระจัดกระจายอยู่ภายในด้วยจำนวนเท่ากัน


5. เลขอะตอมของธาตุ คือข้อใด
ก. จำนวนอิเล็กตรอนในอะตอมของธาตุ
ข. จำนวนโปรตอนในอะตอมของธาตุ
ค. จำนวนนิวครอนในอะตอมของธาตุ
ง. จำนวนโปรตอนกับนิวตรอนในอะตอมของธาตุ

6.ข้อใดกลา่วไดถกต้อง
ก.แบบจำลองอะตอมคืิมโนภาพที่สรา้งขึ้น โดยอาศัยข้อมลูจากการทดลองซึ่ง อาจถูก หรือ ผิดก็ได้ 
ข. นักวทิยาศาสตร์ที่เสนอแนวคดิว่าอะตอมไม่เล็กที่สุดแต่ยังมีอิเล็กตรอนที่เล็กกว่าคือ ดอลตัน
ค. เมื่อดูตอมด้วยกลอ้งจลุทรรศน์สนามไอออนกำลังขยาย 750,000 เท่า จะมองเห็นอะตอมได้ช้ัดเจน 
ก. กและข  ข. กและค  ค. กขและ ง  ง. ก เท่านั้น                                                                     

7. เราทราบค่ามวลของอิเล็กตรอนได้จากการทดลองของใคร 
ก. Thomson           ข. Millikan            ค. Rutherford             ง. Thomson และ Millikan  

8.ความแตกต่างระหว่างงแบบจำลองอะตอมของทอมสันและรัทเทอรฟ์อรด์คือข้อใด
 ก. ชนิดของอนุภาคที่อยู่ในอะตอม
 ข. ตำแหน่งของอนุภาคที่อยู่ในอะตอม
 ค. จำนวนอนุภาคที่อยู่ในอะตอม
 ง. ขนาดของอนุภาคที่่อยู่ในอะตอม

9.ผลการทดลองของรัทเทอรฟ์อรด์ในข้อใดที่ไม่ส้อดคล้องกับเเบบจำลองอะตอมของทอมสัน
 ก. อนุภาคแอลฟาผ่านทะลุเเผ่นทองคำมีลักษณะเป็นเส้นตรง
 ข. อนุภาคแอลฟาผ่านทะลุเเผ่นทองคำไปได้ทีการเบี่ยงเบน
ค. อนุภาคแอลฟาวิ่งชนเเผ่นทองคำเเล้วสะส้อนกลับ
ง. อนุภาคแอลฟาบางอนุภาคถูกดูดกลืน

10.ค่า e/m ของไอออนบวกชนิดใดมีค่ามากที่สุด
 ก. Li (A = 7)             ข. Na (A = 24)         ค. K (A = 39)        ง. Ca (A = 40)

กำหนดให้ธาตุ A, B, C และ D มีเลขอะตอมเท่ากับ 55, 38, 35 และ10 ตามลำดับ
11..ธาตุใดมีพลังงานไอออไนเซชันลำดับที่ 1 ต่ำที่สุด
ก. A         ข. B         ค. C         ง. D

12.ธาตุ มีเลขอะตอม 15 มีนิวตรอน 16 จะมีเลขมวล โปรตอน และอิเล็กตรอนเท่าไรตามลำดับ
ก. 31, 15, 15                    ข. 31, 16, 15                    ค. 16, 15, 15                    ง. 15, 31, 16


13.ข้อใดอธิบายความหมายไอโซโทปของธาตุได้ถูกต้อง
ก. ธาตุชนิดเดียวกัน เลขมวลเหมือนกันแต่เลขอะตอมต่างกัน
ข. ธาตุชนิดเดียวกันมีประจุในนิวเคลียสเหมือนกันแต่เลขมวลต่างกัน
ค. ธาตุต่างชนิดกันมีเลขอะตอมเหมือนกันแต่เลขมวลต่างกัน
ง. ธาตุต่างชนิดกันมีประจุในนิวเคลียสเหมือนกันแต่เลขมวลต่างกัน



14.ธาตุโซเดียม (Na) มีเลขอะตอมเท่ากับ 11 จะมีการจัดเรียงอิเล็กตรอนดังข้อใด
ก. 2, 9                ข. 2, 8, 1                ค. 2, 6, 5                ง. 1, 8, 2

15.ข้อใดบอกความหมายของเลขมวลได้ถูกต้อง
ก. จำนวนโปรตอนในนิวเคลียสของอะตอม
ข. มวลรวมของนิวตรอนโปรตอน และอิเล็กตรอนในอะตอม
ค. มวลรวมของนิวตรอนและโปรตอนในนิวเคลียสของอะตอม
ง. มวลรวมของโปรตอน และอิเล็กตรอนในนิวเคลียสของอะตอม



16.ธาตุคลอรีน (CI) มีเลขอะตอม 17 จะอยู่ในคาบและหมู่ละที่เท่าไรของตารางธาตุ
ก. คาบ หมู่ 7                ข. คาบ หมู่ 3                ค. คาบ หมู่ 7                ง. คาบ หมู่ 8



17.ไอออนของธาตุ X มีจำนวนโปรตอนนิวตรอนและอิเล็กตรอนเท่ากับ 9 10 10 ตามลำดับธาตุ X มีสัญลักษณ์เป็นไปตามข้อใด
ก.ธาตุ X มีเลขมวลเท่ากับ 19 และมีเลขอะตอมเท่ากับ 9
ข. X มีเลขมวลท่ากับ 21 และมีเลขอะตอมเท่ากับ 9
ค.ธาตุ X มีเลขมวลเท่ากับ 21 และมีเลขอะตอมเท่ากับ 11
ง.ธาตุ X มีเลขมวลเท่ากับ 21 และมีเลขอะตอมเท่ากับ

18.สารบริสุทธิ์ของธาตุ X ในข้อที่ 69 มีสูตรโมเลกุลตามข้อใด
ก. F2 ข.Cl2 ค.N2 ง.O2

19.ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสมบัติของธาตุ X ในข้อที่ 69
ก. สาร X มีสถานะเป็นแก๊ส
ข. ไอออนที่เสถียรของธาตุ X มีประจุเป็น -1
ค. ธาตุ X พบได้ในบางส่วนของร่างกายคน
ง.ธาตุ X กับธาตุ Ca เกิดเป็นสารประกอบที่มีสูตร CaX

20.การจัดเรียงอิเล็กตรอนของไอออน X2+ ที่มี 44 โปรตอนเป็นตามข้อใด
ก. [Ar] 3d10 4s2 4p5 4d5
ข. [Ar] 3d10 4s2 4p6 4d2
ค. [Ar] 3d10 4s2 4p6 4d6
ง. [Ar] 3d10 4s2 4p6 4d8            
                                                                                       

เฉลย

1. ข            2. ค            3. ง            4. ข            5. ข            6. ง               7. ง            8. ง            9. ค                10. ก

11. ก           12. ก            13.ข           14. ข           15.  ค            16.ก            17.ก              18.ก           19. ง              20. ค

แบบฝึกหัดบทที่1

 แบบฝึกหัดบทที่1

1. การกระทำในข้อใด ที่ทำให้สารเคมีสามารถเข้าสู่ร่างกายได้

    ก. การปล่อยสารเคมีไว้ในภาชนะเปิด ภายในตู้ดูดควัน

    ข.การถ่ายเทสารเคมีในปริมาณเท่าที่ต้องการใช้

    ค.สวมถุงมือเมื่อต้องเทกรดความเข้มข้นสูงออกจากขวด

    ง.การใช้เครื่องแก้วที่มีปากบิ่นเล็กน้อย

2. การระเหยตัวทำละลายภายในตู้ควัน ช่วยป้องกันหรือหลีกเลี่ยงการเกิดอันตรายในห้องปฏิบัติการข้อใด

    ก. ไฟไหม้

    ข. การสูดดมไอของสารเคมี

    ค. สารเคมีเข้าปาก

    ง. การระเบิด


3. ข้อปฏิบัติใด เป็นการหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดผิวหนังไหม้เกรียม

    ก.การจับบีกเกอร์ที่มีน้ำร้อนลงจาก hot plate ด้วยมือเปล่า

    ข. การเช็ดสารเคมีที่หกเลอะบนโต๊ะทุกครั้ง ไม่ว่าจะมีปริมาณมากหรือน้อยก็ตาม                               

    ค.สารเคมีที่หกกระเด็นจากบีกเกอร์เพียงเล็กน้อย ไม่เป็นอันตราย ไม่ต้องรีบเช็ดทำความสะอาด

    ง. เมื่อมีสารเคมีหกรดตัวเป็นบริเวณกว้าง ทำการชำระล้างโดยที่ล้างตัวฉุกเฉิน


4. ข้อใดเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสารเคมีเข้าปากได้

    ก.การใช้ลูกยางในการดูดสารเคมีเข้าปิเปต

    ข.ถ้าสวมถุงมือขณะทำการทดลอง ไม่จำเป็นต้องล้างมือหลังทำการทดลองเสร็จ

    ค.การโบกพัดไอของสารที่ต้องทดสอบด้วยการสูดดมเข้าหาจมูก

    ง.ไม่ดื่มหรือกินของขบเคี้ยวในห้องปฏิบัติการ


5. อุปกรณ์ความปลอดภัยใดในห้องปฏิบัติการ ที่ใช้เมื่อเกิดอุบัติเหตุที่เป็นอันตรายมากและไม่สามารถจัดการด้วย ตนเองได้

    ก.ที่ล้างตัวฉุกเฉิน

    ข. เครื่องดับเพลิง

    ค.สัญญาณเตือนภัย

    ง.ตู้ดูดควัน


6. ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินและจำเป็นต้องอพยพคนออกจากอาคาร ควรปฏิบัติตามข้อใด

    ก. ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กำลังใช้งานอยู่ก่อนออกจากห้อง

    ข.ถ้าลิฟท์ยังทำงาน ขึ้นลิฟท์เพื่อลงมาชั้นล่าง

    ค.รีบวิ่งลงบันได ทางประตูฉุกเฉิน

    ง.นำชุดปฐมพยาบาลติดตัวลงมาด้วย เผื่อใช้


7. ข้อใดเป็นข้อปฏิบัติทั่วไปที่ควรทำในห้องปฏิบัติการ

    ก.นำกระเป๋าและสิ่งของต่างๆ เข้ามาในห้องปฏิบัติการให้หมด เพื่อความสะดวกและความปลอดภัย

    ข.วิ่งเล่นในห้องปฏิบัติการ

    ค.ไม่สัมผัสและสูดดมสารเคมีโดยตรง

    ง.ทำการทดลองนอกเหนือจากคู่มือปฏิบิติการหรือที่อาจารย์กำหนด


8. การแต่งกายในข้อใด ไม่เหมาะสมในการเข้าทำปฏิบัติการ

    ก. ใส่รองเท้าที่ปิดด้านหน้ามิดชิด แต่เปิดส้นได้

    ข.ผู้หญิงที่ไว้ผมยาว ทำการรวบผูกไว้หลังศีรษะ

    ค.สวมเสื้อที่หลวมจนเกินไป

    ง.สวมแว่นตาแทนคอนแทกเลนส์


9. ข้อใดไม่ใช่แหล่งข้อมูลในการหาสมบัติกายภาพและอันตรายของสารเคมีที่ใช้ในการทดลอง

    ก. Merck Index

    ข.Handbook of Chemistry and Biology

    ค.Material Safety Data Sheet

    ง.MSDS


10. ระหว่างทำการทดลอง ไม่ควรปฏิบัติตามข้อใด

    ก. ถ้าใช้สารที่มีความเป็นพิษสูง ทำการทดลองในตู้ดูดควัน หรือบริเวณที่มีการถ่ายเทอากาศที่ดี

    ข.ก่อนผสมสารเคมีใดๆ อ่านชื่อที่ฉลากบนขวดหรือภาชนะให้แน่ใจว่าหยิบถูกต้องแล้ว

    ค.ก่อนเสียบปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้า ควรตรวจสอบว่าสายไฟไม่ชำรุด

    ง. สามารถอุ่นตัวทำละลายอินทรีย์ที่เป็นสารไวไฟ เช่น ไดเอทิลอีเธอร์ โดยตั้งบนเตาไฟฟ้า โดยตรงได้


11. ข้อใดเป็นการปฏิบัติงานกับสารเคมีอันตรายที่ถูกต้องและปลอดภัย 

    ก. ใส่คอนแทคเลนส์เมื่อท างานกับสารเคมี 

    ข. สวมรองเท้าเมื่อท างานกับสารเคมี 

    ค. ถ้าไม่มั่นใจว่าเป็นสารเคมีอันตรายอย่างไร ให้ทดลองท าน้อยๆ ดูก่อน 

    ง. สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เหมาะสมตลอดเวลา 


12. ข้อใดเป็นการปฏิบัติงานกับสารเคมีอันตรายที่ถูกต้องและปลอดภัย 
    ก. สารเคมีที่มีไอระเหย มีกลิ่นฉุน รุนแรง เช่น กรด ฟอร์มาลีน ควรท าภายในตู้ดูดไอสารเคมี 
    ข. สารเคมีที่มีไอระเหย มีกลิ่นฉุน รุนแรง เช่น กรด ฟอร์มาลีน ควรท าในที่โล่ง ระบายอากาศดี 
    ค. สารเคมีทุกชนิด ควรทำภายในตู้ดูดไอสารเคมี 
    ง. ข้อ ก. และ ค. ถูกต้อง 

13. ข้อใดแนวทางการจัดเก็บสารเคมีอย่างถูกต้องและปลอดภัย 
    ก. เก็บรักษาตามค าแนะน าใน MSDS 
    ข. สถานที่เก็บควรปิดสนิทมิดชิด ไม่ควรให้มีอากาศถายเทสู่ภายนอก 
    ค. เพื่อประหยัดพื้นที่ควรวางขวดสารเคมีซ้อนกัน โดยภาชนะขนาดใหญ่ไว้ชั้นลางสุด 
    ง. ถูกทุกข้อ 

14. ข้อใดเป็นมาตรการควบคุม ป้องกันอันตรายจากสารเคมีอันตรายที่ดีที่สุด 
    ก. ติดตั้งพัดลมระบายอากาศ 
    ข. สวมใส่ถุงมือตลอดเวลาที่ท างานกับสารเคมี 
    ค. ยกเลิกการใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย หรือเปลี่ยนไปใช้สารชนิดอื่นที่ปลอดภัยกว่า 
    ง. จัดท าเอกสารความปลอดภัยสารเคมีให้พร้อมใช้ตลอดเวลา 3/4 

15. เมื่อสารเคมีหกใส่ร่างกายหรือกระเด็นเข้าตา ต้องทำอะไรเป็นสิ่งแรก 
    ก. รีบไปพบแพทย์ทันที 
    ข. อาบนัำหรือล้างตาด้วยน้ำนานอย่างน้อย 15 นาที 
    ค. รีบรายงานให้หัวหน้าห้องปฏิบัติการทราบ     
    ง. แจ้งผู้ร่วมงาน 

16. ข้อใดต่อไปนี้ห้ามทิ้งลงอ่างน้ำหรือท่อน้ำทิ้งโดยตรง 
    ก. สารไวไฟ    
    ข. สารตัวท าละลาย 
    ค. สารไวปฏิกิริยากับน้ า เช่น โลหะโซเดียม 
    ง. ข้อ ก. และ ค. ถูกต้อง 

17. เมื่อเกิดเหตุการณ์สารเคมีหกปนเปื้อนน้อย (minor chemical spill) ในหน่วยงานต้องท าอะไรเป็น สิ่งแรก     ก. ท าความสะอาดบริเวณที่มีสารเคมีหก 
    ข. หยุดการปฏิบัติงาน ปิดห้องแล้วรีบออกไป 
    ค. แจ้งงานอาชีวอนามัยทันที 
    ง. แจ้งให้ผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้นทราบทันที 

18. ของเสียสารเคมีชนิดใดที่สามารถทิ้งลงอ่างน้ าหรือท่อน้ าทิ้งได้โดยตรง 
    ก. สารไวไฟสูง 
    ข. สารละลายบัฟเฟอร์ 
    ค. ตัวท าละลายที่ไม่ละลายน้ า 
    ง. สารไวปฏิกิริยากับน้ า 4/4 

19. เมื่อกรด HCl เข้มข้นหกในห้องปฏิบัติการ ควรใช้ neutralizing agent ตัวไหนเหมาะสมที่สุด 
    ก. ผงถ่านคาร์บอน 
    ข. โซเดียมไบคาร์บอเนต 
    ค. น้ าประปา 
    ง. ทราย 

20. วิธีใดเหมาะสมที่สุด ส าหรับการต้มสารละลายเมทานอล 
    ก. ต้มด้วยตะเกียงบุนเสน 
    ข. ต้มในอ่างน้ าควบคุมอุณหภูมิ 
    ค. ต้มภายในบีกเกอร์ใส่น้ า ตั้งบนตะเกียงบุนเสน 
    ง. ต้มบน hot plate 


เฉลย
1.ง   2.ข   3.ง   4.ข   5.ค   6.ก  7.ค   8.ก   9.ข  10.ง   11.ง   12.ก  13.ก   14.ค   15.ข   16.ค  17.ง  18.ข  19.ข  20.ข


บทที่3 พันธะเคมี

 บทที่3 พันธะเคมี

3.1สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสและกฎออกเตต

สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิส
    สูตรโครงสร้างของลิวอิส เป็นสูตรโครงสร้างที่กิลเบิร์ต ลิวอิสได้คิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้ในการอธิบายรูปร่างโมเลกุล ซึ่งจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภทได้แก่
    -สูตรโครงสร้างส่วนที่เป็นจุด เป็นสูตรโครงสร้างที่ใช้จุดแทนอิเล็กตรอนวงนอกสุดของอะตอมที่เกิดพันธะ โดยให้อิเล็กตรอนครบตามกฎออกเตต ยกเว้นบางธาตุซึ่งมีการยกเว้นได้
    -สูตรโครงสร้างส่วนที่เป็นเส้น เป็นสูตรโครงสร้างที่ใช้เส้นและจุดแทนอิเล็กตรอนวงนอกสุดของอะตอมที่เกิดพันธะ ซึ่งเส้น 1 เส้นจะแทนอิเล็กตรอน 2 ตัวหรือ 1 คู่ การเขียนสูตรโครงสร้างใน
   -ลักษณะนี้จะแสดงอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวด้วยหรือไม่ก็ได้
กฎออกเตต
    กฎออกเตตคือกฎที่อะตอมพยายามที่จะทำให้เวเลนซ์อิเล็กตรอนของตัวมันเองให้ครบแปดซึ่งเป็นสภาพที่เสถียรที่สุด 

3.2พันธะไอออนิก

    พันธะไอออนิก ( Ionic bond ) หมายถึง แรงยึดเหนี่ยวที่เกิดในสารประกอบที่เกิดขึ้นระหว่าง 2 อะตอมอะตอมที่มีค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีต่างกันมาก อะตอมที่มีค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีน้อยจะให้อิเล็กตรอนแก่อะตอมที่มีค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีมาก และทำให้อิเล็กตรอนที่อยู่รอบๆ อะตอมครบ 8 ( octat rule ) กลายเป็นไอออนบวก และไอออนลบตามลำดับ เกิดแรงดึงดูดทางไฟฟ้าระหว่างไอออนบวกและไอออนลบ และเกิดเป็นโมเลกุลขึ้น เช่น การเกิดสารประกอบ NaCl 
สมบัติของสารประกอบไอออนิก
  1. มีขั้ว เพราะสารประกอบไอออนิกไม่ได้เกิดขึ้นเป็นโมเลกุลเดี่ยว แต่จะเป็นของแข็งซึ่งประกอบด้วยไอออนจำนวนมากซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงยึดเหนี่ยวทางไฟฟ้า
  2. ไม่นำไฟฟ้าเมื่ออยู่ในสภาพของแข็งแต่จะนำไฟฟ้าได้เมื่อใส่สารประกอบไอออนิกลงในน้ำ ไอออนจะแยกออกจากกันทำให้สารละลายนำไฟฟ้าในทำนองเดียวกันสารประกอบที่หลอมเหลวจะนำไฟฟ้าได้ด้วยเนื่องจากเมื่อหลอมเหลวไอออนจะเป็นอิสระจากกันเกิดการไหลเวียนอิเลคตรอนทำให้อิเลคตรอนเคลื่อนที่จึงเกิดการนำไฟฟ้า
  3. มีจุหลอมเหลวและจุดเดือดสูงความร้อนในการทำลายแรงดึงดูดระหว่างไอออนให้กลายเป็นของเหลวต้องใช้พลังงานสูง
  4. สารประกอบไอออนิกทำให้เกิดปฏิกิริยาไอออนิกคือปฏิกิริยาระหว่างไอออนกับไอออนทั้งนี้เพราะสารไอออนิกจะเป็นไอออนอิสระในสารละลาย ปฏิกิริยาจึงเกิดทันที
  5. สมบัติไม่แสดงทิศทางของพันธะไอออนิกสารประกอบไอออนิกเกิดจากไอออนที่มีประจุตรงกันข้ามรอบๆไอออนแต่ละไอออนจะมีสนามไฟฟ้าซึ่งไม่มีทิศทางจึงทำให้เกิดสมบัติไม่แสดงทิศทางของพันธะไอออนิก
  6. เป็นผลึกแข็ง แต่เปราะและแตกง่าย

3.3 พันธะโคเวนเลนต์

    พันธะโคเวเลนต์ คือพันธะที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากอะตอม 2 อะตอมนำอิเล็กตรอนมาใช้ร่วมกัน (โดยทั่วไปแล้วหมายถึงอะตอมของธาตุหมู่ IVA, VA, VIA และ VII )
  

    กระบวนการเกิดพันธะโคเวเลนต์อธิบายได้ดังรูป
จากรูปแสดงการนำอิเล็กตรอนของ Fแต่ละอะตอมมาใช้ร่วมกันเดิม Fแต่ละอะตอมมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 7 แต่หลังจากการใช้อิเล็กตรอนร่วมกันเกิดเป็น F2 แต่ละอะตอมของ F จะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับแปดซึ่งเป็นไปตามกฎออกเตต ดังนั้นจะเห็นว่า F อะตอมนิยมสร้างพันธะเกิดเป็น F2   เพราะทำให้อะตอมที่นำอิเล็กตรอนมาใช้ร่วมกันเป็นไปตามกฎออกเตตซึ่งทำให้โมเลกุลที่เกิดขึ้นมีค่าพลังงานลดลงทำให้ความเสถียรมากขึ้น

3.4 พันธะโลหะ

    พันธะโลหะ (อังกฤษMetallic bonding) เป็นพันธะภายในโลหะซึ่งเกี่ยวข้องกับ การเคลื่อนย้าย อิเล็กตรอน อิสระระหว่างแลตทิซของอะตอมโลหะ ดังนั้นพันธะโลหะจึงอาจเปรียบได้กับเกลือที่หลอมเหลวอะตอมของโลหะมีอิเล็กตรอนพิเศษเฉพาะในวงโคจรชั้นนอกของมันเทียบกับคาบ (period) หรือระดับพลังงานของพวกมัน อิเล็กตรอนที่เคลื่อนย้ายเหล่านี้เปรียบได้กับทะเลอิเล็กตรอน(Sea of Electrons) ล้อมรอบแลตทิชขนาดใหญ่ของไอออนบวก ยังไม่สามารถเขียนเป็นสูตรทางเคมีได้ เพราะไม่ทราบจำนวนอะตอมที่แท้จริง พันธะโลหะอาจจะมีเป็นล้าน ๆ อะตอมก็ได้
    พันธะโลหะเทียบได้กับพันธะโควาเลนต์ที่เป็น นอน-โพลาร์ ที่จะไม่มีในธาตุโลหะบริสุทธ์ หรือมีน้อยมากในโลหะผสม ความแตกต่าง อิเล็กโตรเนกาทิวิตีระหว่างอะตอม ซึ่งมีส่วนในปฏิกิริยาพันธะ และอิเล็กตรอนที่เกี่ยวข้องในปฏิกิริยาจะเคลื่อนย้ายข้ามระหว่างโครงสร้างผลึกของโลหะ
 พันธะโลหะเป็นแรงดึงดูดไฟฟ้าสถิต (electrostatic attraction) ระหว่างอะตอม หรือไออนของโลหะ และอิเล็กตรอนอิสระ(delocalised electrons) นี่คือเหตุว่าทำไมอะตอมหรือชั้นของมันยอมให้มีการเลื่อนไถลไปมาระหว่างกันและกันได้ เป็นผลให้โลหะมีคุณสมบัติที่สามารถตีเป็นแผ่นหรือดึงเป็นเส้นได้